สมชาย สาปา

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  1,010       1,659

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
หัวเรื่อง :  การสานข้อง
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  พ่อลบ สาปา
เจ้าของผลงานร่วม :   สมชาย สาปา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การสานข้อง, ข้อง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาอีสาน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา : การสานข้อง
สถานที่ 93 หมู่ 1 บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายพา จันทรักษ์
ที่อยู่ 93 หมู่ 1 บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
อาชีพ จักสาน/เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี

ชื่อภูมิปัญญา การสานข้อง
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลักจึงต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้จากการจักสาน โดยวัสดุส่วนมากทำมาจากไม้ไผ่ ซึ่งมีมากในภาคอีสาน จึงมีการประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันขึ้น ด้วยการนำเอาวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น
การสานข้องมีมาตั้งแต่สมัยโบราณยาวนานมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะหมู่บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีบุคลากรในหมู่บ้านที่ได้มีการสืบทอดงานจักสานมาจากบรรพบุรุษ เพื่อสามารถนำมาใช้ในครัวเรือน แล้วยังช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว อีกทั้งยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของคนที่มาเยี่ยมชม นอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่ลูกหลานอีกด้วย

กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
ความรู้เกี่ยวกับงานจักสาน
ความหมายของงานจักสาน
งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วย (บุญเลิศ มรกต ,2545) ในขณะที่สภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวก รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่ การดํารงชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพ ได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไป การประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาด จนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ในการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านอีสาน ที่ปู่ย่าจักรสานขึ้น อย่างเช่น สุ่มไก่ การสานกระด้ง กระติบข้าว อีโฮ่งใช้ร่อนปลา กระชังใส่ปลาซึ่งอุปกรณ์บางอย่างเราก็ไม่รู้จัก จึงจำเป็นอย่างมากที่เราควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่างๆเพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน
ข้อง เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด
ประเภทของเครื่องจักสาน
1. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะส่วนมากเป็นเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่และหวาย ใช้ใส่ของนานาชนิด เช่น กระบุง กระจาด กระติบ กระทาย กะโล่ ตะกร้า
2. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องตักและตวง
เช่น กระออม กระชุ สัด
3. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน
เช่นกระชอน ใช้สำหรับร่อนหรือกรอง กระด้งใช้สำหรับฝัด
4. เครื่องจักสานที่ใช้ในการขนส่งใส่สินค้า
เช่น กระทา เป็นภาชนะไม้ไผ่สานใช้สะพายหลังมีใช้ในภาคเหนือและภาคอีสาน เข่ง หลัว ชะออม สานจากไม้ไผ่และหวายใช้ใส่สินค้า
5. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องจับและดักสัตว์
เช่น กระจู้ สุ่ม เป็นเครื่องจับและดักสัตว์น้ำ กระชัง ข้อง ใช้เป็นที่ขังสัตวุ์เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องเรือน 6. เครื่องปูลาด เครื่องประดับและเครื่องเล่น
เช่น ฝาเรือนที่ทำจากไม้ไผ่สาน ที่เรียกว่า ฝาขัดแตะ และปูลาดพื้นเรือนด้วยเสื่อที่ทอจากกก เสื่อลำแพนที่สานจากไม้ไผ่ เครื่องแต่งกาย เช่น หมวก หรืองอบ ตะกร้าหวาย เฟอร์นิเจอร์หวาย

การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
ขั้นตอนและวิธีการทำ


ขั้นตอนที่ 1 เตรียมไม้ไผ่โดยการผ่าครึ่งให้เรียบร้อย ขั้นตอนที่ 2 ผ่าไม้ไผ่ให้มีขนาดเล็กลง


ขั้นตอนที่ 3 ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นขนาดยาว ขั้นตอนที่ 4 ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นขนาดสั้น
เพื่อสานตัวข้อง เพื่อขึ้นโครงปากข้อง


ขั้นตอนที่ 5 ขึ้นโครงตัวข้อง ขั้นตอนที่ 6 ทำการสานโดยสาน สลับ 1 เว้น 1


เสร็จเรียบร้อย มีแบบข้องจิ๋ว แบบใหญ่ พร้อมใช้งาน

การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การสานข้อง ได้รับรับการถ่ายทอดจากเจ้าของภูมิปัญญา คือ คุณพ่อพา จันทรักษ์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้มอบความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจเรื่องงานจักสานนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไปอีกด้วย
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องของงานจักสาน เป็นการถ่ายทอดให้กับผู้คนทุกเภททุกวัยที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างเป็นอาชีพเพื่อสร้างจุดเด่นให้กับชุมชนได้อีกด้วย
การจัก คือการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้วเพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป หรือบางครั้งการจักไม้ไผ่หรือหวายมักจะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก
การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ
– การสานด้วยวิธีสอดขัด
– การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง
– การสานด้วยวิธีขดเป็นวง
ซึ่งการสานข้องคือการนำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานตะข้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน มีการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน จะทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตะข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ1 เว้น1

พิกัด (สถานที่) บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000







ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวภัคจิราพร จันทรักษ์
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพิมพ์ไทย ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การสานข้อง 1,010
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (เครื่องจักสาน : สานข้อง) 1,153

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (เครื่องจักสาน : สานข้อง) 1 กันยายน 2561
การสานข้อง 6 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล